วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวในสิงคโปร์



เมืองไชน่าทาวน์
เมืองไชน่าทาวน์ของสิงคโปร์ก่อตั้งขึ้นราวปี ค.ศ.1821 เมื่อเรือจีนลำแรกเดินทางมาจากเซี่ยเหมิน มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน ผู้โดยสารเป็นชายทั้งหมด พวกเขาสร้างบ้านขึ้นที่ตอนใต้ของแม่น้ำสิงคโปร์ (Singapore River) ซึ่งปัจจุบันเรียกบริเวณนี้ว่าเทโลค อะเยอร์ (Telok Ayer) ชื่อท้องถิ่นของไชน่าทาวน์ก็คือ "นุ่ย ชี ซุย" (Niu Che Shui - แปลว่า "น้ำเกวียนวัว") ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากการที่ ณ เวลานั้นแต่ละครอบครัวจะต้องมาขนน้ำสะอาดจากบ่อที่ภูเขาแอนเซี่ยง (Ann Siang Hill) และถนนสปริง (Spring Street) ด้วยการใช้เกวียนที่วัวลาก
อย่างไรก็ตาม บางส่วนของไชน่าทาวน์ก็มีคนเชื้อชาติอื่นอาศัยอยู่ เช่นมัสยิดอัลอับราห์ (Al Abrar Mosque) บนถนนเทโลค อะเยอร์ (Telok Ayer Street) และมัสยิดจาเมย์ (Jamae Mosque) และวัดศรีมาเรียมัน (Sri Mariamman Temple) บนถนนเซาท์บริดจ์ (South Bridge Road) ก็เป็นบริเวณที่มีบรรยากาศด้านเชื้อชาติและศาสนาที่หลากหลายของสิงคโปร์ ไชน่าทาวน์มี 4 เขตหลัก ได้แก่ - ครีตา อะเยอร์, เทโลค อะเยอร์, ทันจอง พาการ์ และบูกิต ปาซอร์ - แต่ละเขตก็มีจุดเด่นพิเศษของตนเอง ศูนย์กลางของไชน่าทาวน์จะอยู่บริเวณถนนตรังกานู/สมิท (Trengganu/Smith Streets)



โลกใต้ทะเล (Underwater World)
ตั้งอยู่ที่เกาะเซนโตซ่า เป็นแดนสวรรค์ในฝันที่เราเปิดให้ท่านรับชมความงามอันน่าประทับใจของโลกใหม่ใต้ท้องทะเล เรามีหาดทรายและสระน้ำหินตื้นๆ คุณจะเริ่มดำดิ่งสู่ทะเลลึก ผ่านปะการังสีสดและพืชที่มีชีวิตชีวา ก่อนจะถึงอุโมงค์อะครีลิคขนาด 83 เมตรอันน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งเป็นบ้านของฝูงปลาขนาดใหญ่ นักล่าที่ว่ายไปมา และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแปลกๆอีกมาที่โลกใต้ทะเลแห่งนี้ เราเพาะพันธ์และเลี้ยงดูสัตว์น้ำหลากหลายชนิด เช่น ฉลามครีบขาวและฉลามครีบดำ กระเบนนก และม้าน้ำท้องใหญ่ สถาบันของเรามีบทบาทช่วยในการอนุรักษ์สัตว์สายพันธ์ต่างๆอย่างเช่น เต่าใกล้สูญพันธ์บางชนิด เรายังเป็นผู้นำของโครงการโยกย้ายปะการังในหมู่เกาะเซาท์เทิร์นไอแลนด์ (Southern Islands)





เมืองแห่งความบันเทิง NTUC Lifestyle World – Downtown East
นี่คือเมืองแห่งความบันเทิงที่เป็นอิสระในตัวเอง ที่ NTUC Lifestyle World – Downtown East มีหลายสิ่งหลายอย่างรอคุณอยู่ เช่น อาหารและเครื่องดื่มกว่า 40 รายการ สิ่งบันเทิงต่างๆหากต้องการความหวาดเสียวกลางสายน้ำ ให้ท่านตรงไปที่ สวนสนุกเอสเคป (Escape themed park) ที่นี่มีสไลด์เดอร์สายน้ำที่สูงที่สุดในเอเชีย – เดอะฟลูมไรด์ (Flume Ride) – และเครื่องเล่น Cadbury Inverter ที่หวาดเสียวสุดขีดแบบ 360 องศา ห้ามพลาด ไวลด์ไวลด์เว็ต สวนน้ำแห่งใหม่ล่าสุดและใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ที่นี่มีแพหรรษา สระน้ำคลื่นเทียม อ่างน้ำวน และเครื่องเล่นสไลด์อัพ เพื่อความมันส์สะใจของคุณถึงเวลาอาหารแล้ว คุณเลือกอร่อยได้กับอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล อาหารไทย อินเดีย มาเลย์ ญี่ปุ่น ตะวันตก อิตาลี และจีน ฟาสต์ฟู้ด ภัตตาคารหรู ร้านชาไข่มุก หรือร้านขายของกินเล่น คุณเลือกได้ตามใจคุณ! ก่อนกลับบ้านอย่าลืมเลือกซื้อของที่ระลึกจากซอยเล็กๆแถวนี้ คุณสามารถหาซื้อของได้เกือบทุกประเภทที่นี่ วันนี้น่าจะเป็นวันหยุดที่คุณประทับใจไปอีกนานทีเดียว! ดินแดนที่คุณจะสนุกอย่างไม่รู้จบ!




บุนพาร์ - ฮาวพาร์วิลล่า (Haw Par Villa)

สร้างในปี 1937 โดยนักธุรกิจเจ้าเสน่ห์ชื่ออาวบุนฮาว ให้แก่พี่น้องชายของเขาที่ชื่อบุนพาร์ - ฮาวพาร์วิลล่า (Haw Par Villa) แห่งนี้มีลักษณะเหมือนกับบ้านในนิยายพื้นบ้านของชาวจีนอย่างไม่มีผิดเพี้ยน นักท่องเที่ยวหลายคนกล่าวว่าที่แห่งนี้ "น่าหลงใหล เพลิดเพลิน มหัศจรรย์ และสนุกสนาน" ฮาวพาร์วิลล่ามีเอกลักษณ์ในตัวเองไม่เหมือนที่อื่นใดในโลกที่นี่มีรูปปั้นใหญ่เล็กจำนวนยี่สิบห้าตัว จำลองแบบมาจากตัวละครในเทพนิยายจีนหลายตัว เช่น พระสังกระจาย และ "ฟู ลู่ ชู" (เทพลัทธิเต๋า) จุดน่าสนใจที่พลาดไม่ได้ก็คือ "ลานนรกสิบภูมิ" (Ten Courts of Hell) เป็นการจำลองการตัดสินโทษทั้งสิบขั้นก่อนจุติในภพใหม่ คุณจะเห็นภาพนรกอย่างชัดเจนได้ที่นี่ รูปปั้นเหล่านี้จะทำให้เกิดคุณธรรมขึ้นในใจ และยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนให้แก่ชนรุ่นหลังอีกด้วย




เมอร์ไลออน

หรือ สิงโตทะเล (鱼尾狮; พินอิน: Yúwěishī หยูเหว่ยซือ) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์




แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างๆสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นายลี กวน ยู

สิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูง 2 เมตรและหนัก 3 ตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก


ย่านถนนออร์ชาร์ด (Orchard road)

ถนนออร์ชาร์ด ถนนที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน สวรรค์ของนักช้อปปิ้งทั่วโลก เป็นถนนที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า และโรงแรม และร้านค้ามากมาย เรียงรายเป็นแนวยาว ตั้งแต่หัวถนนจรดปลายถนน ชาวสิงคโปร์ ถือว่าย่านนี้ คือย่าน City Center ของประเทศสิงคโปร์

บนถนนออร์ชาร์ด มีห้างใหญ่ๆ ชื่อดังมากมาย มารวมอยู่บนถนนสาย shopping แห่งนี้ โดยจะมีทั้ง



ห้างทากาชิมาย่า (Takashimaya) เป็นห้างใหญ่มากคนแน่นมากโดยเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีร้านขายของดีมียี่ห้อจากยุโรปมากมาย มีร้านหนังสือ Kinokuniya ชั้นใต้ดินมีฟาสฟู๊ดอยู่เยอะมาก




ห้างเดอะฮีรีน (The Heeren)ที่ต้องของร้าน HMV Music Store ชั้น 4 และ 5 มีร้านขายของวัยรุ่นคล้ายถนนฮาราจูกุของญี่ปุ่น




ห้างพลาซ่าสิงคปุระ (Plaza Singapura) เสื้อผ้า ของแต่งบ้าน

การเป็นมัคคุเทศก์ควรเรียนเอกภาษา

ควรเรียนหลายๆ ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศษ เป็นต้น น่ะค่ะ

สามารถเรียนมหาลัยอะไรก็ได้ เช่น



มหาวิทยาลัยกรุงเทพ



มหาวิทยาลัยขอนแก่น



จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



มหาวิทยาลัยมหิดล

มัคคุเทศก์ แบ่งเป็น 2 ประเภท

มัคคุเทศก์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. มัคคุเทศก์ทั่วไป ( ต่างประเทศ ) บัตรสีบรอนซ์เงิน นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ สามารถนำเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักร

2. มัคคุเทศก์ทั่วไป ( ไทย ) บัตรสีบรอนซ์ทอง นำเที่ยวได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถนำเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักร

มัคคุเทศก์เฉพาะ มี 8 ชนิด คือ

1. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ เฉพาะพื้นที่) บัตรสีชมพู นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศเฉพาะจังหวัดที่ระบุไว้บนบัตรและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อ



2. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย เฉพาะพื้นที่) บัตรสีฟ้า นำเที่ยวเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย เฉพาะจังหวัดที่ระบุไว้บนบัตรและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อ



3. มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า) บัตรสีเขียว นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ป่า



4. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปวัฒนธรรม) บัตรสีแดง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีไทยได้ทั่วราชอาณาจักร



5. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล) บัตรสีส้ม นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ทางทะเล



6. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทะเลชายฝั่ง) บัตรสีเหลือง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ทางทะเลหรือเกาะต่างๆ โดยมีระยะห่างจากชายฝั่งถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 40 ไมล์ทะเล



7. มัคคุเทศก์เฉพาะ (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ) บัตรสีม่วง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ เฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ระบุชื่อไว้บนบัตร



8. มัคคุเทศก์เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิ่น) บัตรสีน้ำตาล นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทย หรือชาวต่างประเทศทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ โบราณคดี เฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมท้องถิ่นระบุชื่อไว้ในบัตรเท่านั้น

การเป็นมัคคุเทศก์ จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ทางราชการกำหนด ซึ่งหลักสูตรแต่ละประเภทของบัตรมัคคุเทศก์จะกำหนดวุฒิการศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน แต่คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องเป็นคนสัญชาติไทย และ อายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป พูด – อ่าน และเขียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลการเป็นมัคคุเทศก์


มัคคุเทศก์ คือ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำหน้าที่ในการนำนักท่องเที่ยว หรือนักเดินทาง เดินทางท่องเที่ยว ทัศนาจรตามสถานที่ต่างๆ ตามแผนการทัศนาจร หรือตามโครงการนำเที่ยวของบริษัทจัดการนำเที่ยว หรือตามความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ในการให้ความรู้แก่นักท่วงเที่ยวด้วยการอธิบาย และบรรยายถึงสภาพ และสถานที่เที่ยวที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ


ลักษณะของงานที่ทำ คือ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยว รวมทั้งความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม วางแผนกำหนดเส้นทาง จัดกำหนดการนำเที่ยว ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และระยะเวลา ติดต่อสถานที่พักแรม หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อการพักแรมในสถานที่ ที่จะนำเที่ยว
นำนักท่องเที่ยวชมสถานที่ และบรรยายให้นักท่องเที่ยวได้ทราบความเป็นมาของสถานที่ และท้องถิ่น แหล่งธรรมชาติที่น่าชม และน่าสนใจ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชน
จัดการพักแรม และดูแลให้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างการนำเที่ยว โดยพยายามจัดการให้บริการที่ต้องสร้างความพอใจ และประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคนอย่างทั่วถึงและต้องมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
อาชีพมัคคุเทศก์ จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามกลุ่มของนักท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์พาเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ (Inbound) นอกจากนี้ ยังแบ่งกลุ่มมัคคุเทศก์ตามลักษณะของการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์เดินป่า มัคคุเทศก์ทางทะเล มัคคุเทศก์ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น


สภาพการจ้างงาน ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนประจำ หรือ ค่าจ้างเป็นเที่ยวในการพานักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยว ซึ่งจะคิดค่าจ้างเป็นรายวันเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500-3,000 บาท และอาจจะได้รับค่าตอบแทนถึง 100,000 บาทเป็นค่านายหน้าจากบริษัท หรือร้านที่นักทัศนาจรมา ซื้อของที่ระลึก หรือเข้าชมการแสดงในสถานที่ท่องเที่ยว ตามที่แต่ละแห่งได้ตั้งค่านายหน้าไว้ ผู้ทำงานมัคคุเทศก์มีกำหนดเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับโครงการ และแผนการนำเที่ยว ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละรายการ ผู้ปฏิบัติงานนี้จะต้องผ่านการอบรมวิชาชีพมัคคุเทศก์ และมีความรู้ภาษาต่างประเทศซึ่งสามารถใช้งานได้ดี


สภาพการทำงาน มัคคุเทศก์ จะทำงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยวมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 วัน ถึงสามหรือสี่สัปดาห์ และในขณะพานักท่องเที่ยวทัศนาจรต้องดูแลนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง นำนักทัศนาจร หรือนักท่องเที่ยว ตั้งแต่คนเดียวจนถึงเป็นกลุ่ม หรือกลุ่มใหญ่ไปชมสถานที่ต่างๆ ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยว การเดินทางอาจจะมีทั้งระยะใกล้ ไกล อาจใช้ยานพาหนะทุกประเภท อาจต้องนำเที่ยวในลักษณะผจญภัย อย่างเช่น ทัวร์ป่า การเดินขึ้นเขา การล่องแพ การค้างแรมร่วมกับกลุ่มชนชาวพื้นเมือง ขึ้นอยู่กับแผนการนำเที่ยว และรูปแบบของการท่องเที่ยว
มัคคุเทศก์จะต้องวางแผนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริการ การอำนวยความสะดวก และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง รวมไปถึงการให้ข้อมูลที่จำเป็น และให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทางทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของการท่องเที่ยว ตลอดจนตอบข้อซักถาม ให้คำแนะนำในระหว่างการเดินทางรวมทั้งต้องทำ กิจกรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทุกคนได้รับความสนุกสนาน ประทับใจ ในบางครั้งอาจจะต้องจัด กิจกรรม หรือให้บริการที่สร้างความพอใจให้กับนักท่องเที่ยวตามจุดประสงค์ที่นักท่องเที่ยวต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้ ตลอด 24 ชั่วโมง บางครั้งมัคคุเทศก์จะต้องทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันต้องใช้ความอดทน และอดกลั้นสูง ดังนั้น ความพร้อม และความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจจึงมีความสำคัญมาก เพราะนักท่องเที่ยว มีอัธยาศัย และพื้นฐานความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมื่อมารวมกลุ่มกันจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี อีกทั้งได้รับความสุข ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินด้วย มัคคุเทศก์จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของท้องถิ่น และประเทศนั้น ๆ


คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ
2. มีความรู้ทั่วไป และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ ปรับตัวได้ และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีใน ทุกสถานการณ์
4. มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของ ผู้เดินทางร่วมไปด้วย
5. มีความเป็นผู้นำ มีความกล้า มีความรอบคอบและไม่ประมาท
6. มีทัศนะคติดี ร่าเริง มีความเสียสละซื่อสัตย์ ซื่อตรง และอดทน
7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
8. มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ
10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งข้อมูลการ ท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า และได้รับการอบรม เพิ่มเติม เพื่อรับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน(วพร.) เป็นเวลา 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน มัคคุเทศก์ภายในประเทศ และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการอบรม และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การรับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว

โอกาสในการมีงานทำ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ทำเงินรายได้ให้ประเทศมากที่สุด และในปี2543 จะนำเงินเข้าประเทศได้ประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยได้เปิดตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในต่างประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการธุรกิจ การท่องเที่ยว ส่วนในประเทศได้เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพในทุกด้านของทุกจังหวัด เพื่อส่งเสริม และรองรับคนไทยให้เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นทั้ง ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรม ประเพณีของทุกจังหวัด และทัวร์สิ่งแวดล้อม หรืออีโคทัวริสซึ่ม
แนวโน้มของคนในยุคปัจจุบันเมื่ออยู่ในสังคมใหม่จะแสวงหาวันหยุดที่ใกล้ชิดธรรมชาติ และความเงียบสงบ นักท่องเที่ยวต่างประเทศปัจจุบันจะเลือกเที่ยวในประเทศที่มีการจัดการและรักษา สิ่งแวดล้อม และสภาพทางนิเวศวิทยาที่ดีเท่านั้น อาจจะจัดเป็นทัวร์สุขภาพธรรมชาติบำบัด หรือรูปแบบการอบรมสัมมนาเนื้อหาทางพุทธศาสนา และทำสมาธิ การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวบ้านเป็นต้น ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะจัดเป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ ดังนั้น บุคคลผู้สนใจประกอบอาชีพนี้สามารถเปิดการให้บริการ โดยสามารถจัดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่มของตนเองขึ้นบนเว็บไซต์ออนไลน์เสนอให้ผู้สนใจทั่วโลกเลือกพิจารณารูปแบบการท่องเที่ยวได้
อนึ่ง องค์การท่องเที่ยวโลกได้มีการสนับสนุนกำหนดให้ วันที่ 27 กันยายนของทุกปี เป็นวันท่องเที่ยวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มี ต่อวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศและโลกโดยรวม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้เพราะเล็งเห็นถึงความมีศักยภาพในการเป็นประตูไปสู่การท่องเที่ยว อินโดจีน หรือภูมิภาค เข้าสู่ จีน พม่า ลาว เขมร และเวียตนาม ซึ่งนับว่าอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสำคัญส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ได้มาตรฐานแล้วเป็น ผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสนใจที่จะเลือกบริโภค ในประเทศที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้นโอกาสการมีงานทำเป็นมัคคุเทศก์จึงค่อนข้างมีมากและมีโอกาสความ ก้าวหน้าในอาชีพ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ความสามารถ และจรรยาบรรณในวิชาชีพของมัคคุเทศก์
แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลได้ จึงได้มีการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพนี้ โดย ในปี 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีรางวัลพิเศษขึ้น คือ "มัคคุเทศก์ไทยดีเด่น " ในงานไทยแลนด์ทัวริสซึ่มอวอร์ด 2000 อันถือว่าเป็นงานยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรการ ท่องเที่ยว ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนจัดการบริการให้มีมาตรฐาน


โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ ความก้าวหน้าในอาชีพนี้ไม่ได้วัดกันที่ตำแหน่ง แต่สามารถวัดได้จากความสามารถทางด้านภาษา ความอดทน ความเป็นมืออาชีพ ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องการประกอบอาชีพนี้สามารถติดต่อได้ที่บริษัท จัดท่องเที่ยว เมื่อมีประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวได้มาก และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สามารถเปิดบริษัทเองได้ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถ เปิดสำนักงานของตนเองได้แต่จะต้องสำรวจพื้นที่ที่ตนอยู่ และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีแหล่งทรัพยากร การท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และจัดเป็นรูปแบบการเดินทางได้หรือไม่ จากนั้นก็จัดทำโฮมเพจ เสนอบริการ ขึ้นเว็บไซต์ตรงสู่ผู้สนใจ โดยปรึกษากับบริษัทที่ปรึกษาการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยใช้บ้านเป็นสำนักงาน


อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง จัดกลุ่มท่องเที่ยวแบบอิสระที่ตนมีความรู้ความชำนาญทั้งภายในประเทศ และต่างระเทศ เช่น ทัวร์ศิลปวัฒนธรรม ทัวร์เกษตรกรรม เป็นต้น
เปิดสถานที่ให้คำแนะนำการท่องเที่ยว จำหน่ายตั๋วเครื่องบิน ให้บริการยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยานภูเขา เรือเช่า หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็น ให้กับนักเดินทาง และนักท่องเที่ยวจัดหา เป็นต้นหรือจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกที่น่าสนใจ หรือหายากในประเทศ จัดศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวท้องถิ่น จัดที่พักแรมเดินทางในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จัดพิมพ์หนังสือคู่มือ การท่องเที่ยว และพิมพ์ภาพโปสการ์ดแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวสนใจ


พระราชบัญญัติฉบับนี้โดยทั่วไป จะให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น และป้องกันผู้ประกอบการนำเที่ยวที่ไม่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จึงกำหนดชัดเจนว่า

1.ห้ามจัดนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบการในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต

2.ห้ามทำหน้าที่มัคคุเทศก์โดยไม่มีใบอนุญาต หรือปฏิบัติงานระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต

3.จะต้องไม่ปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่วางไว้ เช่นจ้างมัคคุเทศก์ไม่ตรงประเภท , เป็นมัคคุเทศก์แต่ไม่ติดบัตรขณะปฏิบัติหน้าที่ , แต่งกายไม่สุภาพประพฤติผิดจรรยาบรรณ อื่น ๆ

4.ใบอนุญาตของผู้ประกอบการนำเที่ยวต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผย ให้บุคคลทั่วไปเห็นได้ชัด